速報APP / 教育 / หลวงปู่สด จนฺทสโร

หลวงปู่สด จนฺทสโร

價格:免費

更新日期:2019-06-14

檔案大小:25M

目前版本:1.0

版本需求:Android 4.4 以上版本

官方網站:mailto:jakkapat072@gmail.com

Email:https://www.porkhun.com/website/pwa-preview/appId/cbb1689349eb

聯絡地址:234

หลวงปู่สด จนฺทสโร(圖1)-速報App

หลวงปู่สด จนฺทสโร เป็นพระนักปฏิบัติธรรมผู้เอาชีวิตเป็นเดิมพัน ไม่ยอมค้างแรมนอกวัดปากน้ำ ทุ่มเทเสียสละเวลาทั้งชีวิตเพื่อการศึกษาและนั่งสมาธิ จนแตกฉานทั้งปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ และสั่งสอนลูกศิษย์ทั้งพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ทั้งในและต่างประเทศ ให้เห็นความสำคัญของการนั่งสมาธิควบคู่กับการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องตามครรลองครองธรรม เพื่อให้ลูกศิษย์ทุกคนได้พบความสุขที่แท้จริงในการเกิดมาเป็นมนุษย์และได้สั่งสมบุญบารมีเป็นเสบียงติดตัวไปข้ามภพข้ามชาติ ซึ่งเป็นการสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นแก่สังคมได้อย่างแท้จริง เพราะสันติสุขภายนอกเกิดจากสันติสุขภายในของคนในสังคมทุกคนที่เชื่อมต่อถึงกัน รวมพลังความดีเป็นกระแสที่ดึงดูดสิ่งดีๆมาสู่สังคมในที่สุด

หลวงปู่สด จนฺทสโร(圖2)-速報App

แอปพิเคชันนี้ ประกอบไปด้วยเรื่องราวเกี่ยวกับหลวงปู่สด จนฺทสโร ทั้งสถานที่ก่อเกิดกายเนื้อ สถานที่ตั้งปณิธานบวชตลอดชีวิต สถานที่เกิดในเพศสมณะ สถานที่บรรลุธรรม สถานที่เผยแผ่ธรรมครั้งแรก สถานที่ปักหลักเผยแผ่ธรรม และสถานที่สืบสานมโนปณิธานการเผยแผ่ธรรมไปทั้่วโลก คำสอนหลวงปู่สด จนฺทสโร ทั้งที่เป็นลายล้กษณ์อักษรและเป็นรูปแบบเสียงแสดงพระธรรมเทศนา หนังสือประกอบคำสอน นอกจากนั้นยังมีรูปแบบกิจกรรมให้ผู้ใช้แอปพิเคชันได้ทำร่วมกันเพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและผ่อนคลายในการศึกษาธรรมะและการนั่งสมาธิควบคู่ไปพร้อมกัน

หลวงปู่สด จนฺทสโร(圖3)-速報App

หลวงปู่สด จนฺทสโร(圖4)-速報App

พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)

หลวงปู่สด จนฺทสโร(圖5)-速報App

ชาติภูมิ

หลวงปู่สด จนฺทสโร(圖6)-速報App

พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ หรือหลวงปู่สด จันทสโร เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๒๗ ณ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ในครอบครัวของพ่อค้าข้าว เมื่อเยาว์วัยเป็นผู้ฝักใฝ่และมีศรัทธาในพระพุทธศาสนา เมื่ออายุได้ ๒๑ ปีได้บวชและตั้งใจศึกษาพระธรรมวินัย และพระบาลีจากพระไตรปิฎก อย่างจริงจัง ท่านเป็นผู้มีวิริยอุตสาหะในการศึกษาคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งภาคปริยัติและภาคปฏิบัติ

หลวงปู่สด จนฺทสโร(圖7)-速報App

การบรรลุธรรม

หลวงปู่สด จนฺทสโร(圖8)-速報App

ปี พ.ศ. ๒๔๖๐ ท่านได้ไปบำเพ็ญภาวนาที่วัดโบสถ์ (บน) อำเภอบางคูเวียง จังหวัดนนทบุรี และเพื่อสอนพระบาลีให้แก่ภิกษุสามเณรที่วัดนั้น จากคำกล่าวของพระครูไพโรจน์ธรรมคุณ ศิษย์ของพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำท่านหนึ่ง ผู้จดจำคำของหลวงปู่เมื่อตั้งใจสละชีวิตเพื่อค้นหาธรรมะไว้ดังนี้ พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ ท่านตั้งสัตยาธิษฐานต่อหน้าองค์พระปฏิมากรในวัดโบสถ์ว่า "ขอพระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดข้าพระพุทธเจ้า ทรงประทานธรรมที่พระองค์ได้ทรงตรัสรู้อย่างน้อยที่สุดแลง่ายที่สุด ที่พระองค์ได้ทรงรู้แล้วแก่ข้าพระพุทธเจ้า ถ้าข้าพระพุทธเจ้ารู้ธรรมของพระองค์แล้ว จักเป็นโทษแก่ศาสนาของพระองค์แล้ว ขอพระองค์อย่าทรงพระราชทานเลย ถ้าเป็นคุณแก่ศาสนาของพระองค์แล้ว ขอพระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานแก่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์ขอรับเป็นทนายศาสนา ในศาสนาของพระองค์จนตลอดชีวิต" ในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๐ ปี พ.ศ. ๒๔๖๐ พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ ได้ค้นพบวิธีการเข้าถึงธรรมกายซึ่งสูญหายไปหลังพุทธปรินิพพานได้ ๕๐๐ ปี หลังจากนั้นพระเดชพระคุณหลวงปู่สดได้เผยแผ่วิธีการปฏิบัติธรรม เพื่อเข้าถึงธรรมกายที่สามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้ว่า เราเกิดมาทำไม? อะไรคือเป้าหมายของการเกิดเป็นมนุษย์ ?

การเผยแผ่

หลังออกพรรษาในปี พ.ศ. ๒๔๖๐ ท่านไปพักที่วัดบางปลา อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐมเพื่อไปสอนธรรมะครั้งแรก มีพระภิกษุที่สามารถปฏิบัติธรรมและเข้าถึงพระธรรมกายจำนวน ๓ รูป คือ พระภิกษุสังวาลย์ พระภิกษุแบน พระภิกษุอ่วม กับฆราวาสอีก ๔ คน เป็นพยานการบรรลุธรรมของพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ ต่อมาท่านส่งพระภิกษุสังวาลย์ไปสอนการปฏิบัติธรรมเพื่อเข้าถึงพระธรรมกายที่วัดบางปลา ปี พ.ศ. ๒๔๖๓ ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ และสอนการปฏิบัติธรรมเพื่อเข้าถึงพระธรรมกายให้แก่พระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกาและสาธุชนที่มาวัดทั้งภายในและต่างประเทศ ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๘๐ - ๒๕๐๒ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ มีพระภิกษุ สามเณร จำพรรษาถึง ๕๐๐ รูป นับเป็นวัดที่มีการเรียนพระปริยัติและสอนปฏิบัติธรรมที่ใหญ่ที่สุดในเวลานั้น จากการปฏิบัติที่ถูกต้องตามหลักวิชา ศิษยานุศิษย์จำนวนมากได้เข้าถึงพระธรรมกายและยืนยันว่า พระธรรมกายมีจริงและดีจริง ชาวต่างประเทศได้เดินทางมาศึกษาการปฏิบัติธรรมกับพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ และเมื่อได้รับผลการปฏิบัติธรรมเป็นที่น่าพอใจ จึงเดินทางกลับไปเผยแผ่วิธีการปฏิบัติธรรมเพื่อเข้าถึงพระธรรมกาย ณ ถิ่นกำเนิดของตน